หน้าเว็บ

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บริหารประสบการณ์ให้โดนใจลูกค้าในยุคดิจิตอล ตอนที่ 2



 โมเดลธุรกิจบริการร้านอาหารสมัยใหม่ไม่ใช่แค่อิ่มอร่อยได้สุขภาพ แต่ต้องคืนทุนเร็ว
ปัจจุบันคนไทยนิยมรับประทานข้าวนอกบ้านมากขึ้น โดยในช่วงวันหยุดจะชอบรับประทานอาหารในร้านที่เปิดในห้างสรรพสินค้าเพราะมี มาตรฐานการบริการ มีอาหารให้เลือกหลายหลากตั้งแต่หัวละ150บาทขึ้นไป (อาหารไทย,อาหารจีน,เกาหลี,ญี่ปุ่น,ผรั่ง,อีสาน,สุกี้,ก๋วยเตี๋ยวมี่ให้ เลือกสารพัดสูตรฯลฯ)  สูตรสำเร็จการทำธุรกิจอาหารจานด่วนหรือฟาส์ตฟูดในส่วนพื้นที่พล่าซ่าของห้าง สรรพสินค้าฯต้องสามารถควบคุมต้นทุนคุณวัตถุดิบอาหารให้สด สอดคล้องจำนวนกับลูกค้าในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์และวัดหยุดนักขัตฤกษ์ซึ่งขาย ดีกว่าวันธรรมดา3-4เท่าตัวหรือยอดขายกว่า80%เกิดขึ้นในวันหยุด ระบบบริการที่มีมาตรฐานจึงต้องฝึกพนักงานให้มีหัวใจบริการพร้อมรับมือกับ ลูกค้าที่มีความคาดหวังสูงในการให้บริการช่วงที่หนาแน่นมากๆถ้าระบบให้ บริการไม่แน่จริงหรือเกิดล่มหรือมีช่องงว่างให้ลูกค้ารอคอยนานเกินไปหรือ ลูกค้าไปเจอพนักงานที่ให้บริการตํ่ากว่ามาตรฐาน เราอาจสูญเสียลูกค้าไปเลย  ถ้ามีปัญหาแล้วลูกค้าไม่พอใจ แล้วไม่มาอีกหรือค่อยๆหายทุกครั้งในที่ลูกค้าแน่ร้านหรือช่วงขายดีในแต่ละ วันลองคิดดูครับว่า ร้านอาหารที่ไม่มีลูกค้าประจำ ที่สร้างรายได้หลัก เมื่อไหร่ร้านจะคืนทุนที่ลงไป ยอมไหมครับถ้าต้องคืนทุน5-6ปี(สถิติการส่งเสริมธุรกิจร้านอาหารจากกรมพัฒนา ธุรกิจการค้า2558   พบว่าร้านอาหารแฟรนไซส์ ขนาด25-30 โต๊ะ ขนาด100-150ตรม.ลงทุน5- 8ล้านบาทต่อสาขา ถ้าทำรายได้เฉลี่ยเดือนละ1-2ล้านบาท จะคืนทุนภายใน3ปีเท่านั้น)          
โมเดลธุรกิจบริการร้านอาหารเจ้าตลาด ใช้ลูกค้าของห้างสรรพสินค้าฯ สร้างระบบสมาชิกแบบหว่าน(Mass)ส่วน ธุรกิจร้านอาหารทำเงินดั้งเดิมในห้างสรรพสินค้าฯต้องสามารถควบคุมต้นทุน อาหาร(Food Cost) ต้นทุนพนักงาน(Labor Cost )ค่าโสหุ้ยต่างๆ รวมทั้งบริหารต้นทุนการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้มีประสทธิภาพในทุกช่องทางการ สื่อสาร(Online,Offline,OnLocation) ยิ่งมีสาขาเยอะก็ยิ่งต้องวิ่งให้เร็วขึ้นเรื่อยๆเพื่อหนีคู่แข่งร้านอาหาร สมัยใหม่ๆที่เป็นระบบแฟรนไซส์ระดับโลกมีระบบบริหารตรบเครื่อง  ธุรกิจร้านอาหารเจ้าตลาดที่เติบโตได้เสมอในทุกสภาวะเศรษฐกิจ ได้แก่
  • ร้านเอสเเอนด์พี S&P (1,000 จุดทั้งสาขาเปิดในห้างฯในปั๊มKioskตามไฮเปอร์มาร์ท เด่นด้วยนวัตกรรมอาหาร Ready to Eat ตามสโลแกนชื่อนี้มีแต่ความอร่อย,สมาชิกกว่า 500,000ราย )
  • ร้านอาหารญี่ปุ่นฟูจิ  (100 สาขา จุดเด่นอาหารญี่ปุ่นเพื่อสุขภาพ รสชาดไทย บริการระดับ4ดาว)
  • ร้านเอ็มเคสุกี๊( 500  สาขา เด่นด้วยเมนูสุกี้หลากหลาย อิ่มสนุก บริการระดับ4ดาว, ระบบสมาชิกกว่า600,000ราย)
แนวทางสร้างบริการระดับ4ดาวสำหรับธุรกิจบริการร้านอาหาร
สิ่งที่ทำให้ธุรกิจบริการร้านอาหารประสบความสำเร็จรวดเร็ว คืนทุนได้ ตามแผน มีกำไรไปลงทุนขยายสาขาใหม่ต่อๆไปเรื่อยๆ ทั้งเจ้าตลาดและคู่ท้าชิงทุกยุคตั้งแต่30ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบันได้แก่แนว ทางการสร้างมาตรฐานธุรกิจบริการที่เข้มข้นจริงจัง ฝึกแล้วฝึกอีกจนพนักงานปฎิบัติงานประจำวันกลายเป็นธรรมชาติที่สอง มีความจริงใจต่อลูกค้า เข้าใจลูกค้า มีนํ้าใจ ใส่ดูแลลูกค้าจนไม่มีช่องว่างหรือสามารถให้บริการระดับ 4-5 ดาว(เหมือนบริการของร้านอาหารในโรงแรมหรู) ทำให้ลูกค้ามีความสุข มีคุณค่า จนไม่สนใจค่าอาหารแพงที่ขึ้น  เมื่อเทียบกับประสบการณ์ดีๆที่ได้รับจากร้าน ยิ่งพนักงานทุกคนของเราให้บริการที่ดีสมํ่าเสมอกันได้ทุกคน ลูกค้ายิ่งรู้สึกได้ในความแตกต่างของทีมงานที่เชื่อมโยงกันทุกส่วนสุดท้าย สมาชิกประจำร้านที่สมัครใจจะเกิดขึ้นเองครับ ยิ่งลูกค้าได้รับการดูแลดีขึ้นๆ พร้อมการคืนกำไรที่เหมาะสม ลูกค้าก็เผลอรักเราไปแล้วครับ
ผมขอรวบรวมอาวุธลับสำหรับธุรกิบริการที่ต้องการสร้างบริการระดับ 4ดาว สั้นๆดังนี้ครับ

  • การทักทายต้อนรับที่อบอุ่นเป็นกันเองหรือการต้อนรับที่สุภาพอ่อนน้อมสำหรับลูกค้าประจำ
  • การจัดคิวรอที่รวดเร็วหรือให้ลูกค้ารอคอยอย่างมีเป้าหมาย,รอคอยไม่นานเกินไป
  • การดูแลเอาใจใส่คอยหมั่นสอบถามลูกค้าในระหว่างรับประทานอาหาร
  • ความกระตือรือล้นของพนักงานในการติดตามอาหารให้ได้รวดเร็วตามคิว,การเก็บเงินที่รวดเร็ว
  • การสร้างบรรยากาศแปลกๆใหม่ๆของร้าน,การเล่นดนตรีสด,การแสดงมายากล,การสร้างมุมถ่ายรูปของร้าน ฯลฯ
  • การคืนกำไรให้กับสมาชิกในรูปบัตรส่วนลดสมาชิกประจำร้าน(จำกัด จำนวนสมาชิกแต่ให้สิทธิ์เต็มที่จุใจเพื่อให้มาประจำ สร้างยอดขายต่อเนื่อง) การสะสมยอดซื้อ ส่วนลดพิเศษในเดือนเกิด,ในเทศกาลสำคัญต่างๆ ฯลฯ
  • การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับสมาชิกบัตรเครดิต,สมาชิกห้างสรรพสินค้า,สมาชิก Fan Page  เป็นต้น
เคล็ดลับธุรกิจบริการร้านอาหารที่คืนทุนเร็ว มีบริการระดับ4ดาว ลูกค้าประจำสร้างรายได้เกิน 50%
สรุปโมเดลธุรกิจบริการร้านอาหารมีหลายรูปแบบ สามารถเลือกใช้ตามงบการลงทุนที่เหมาะสมของเรา
(โมเดลพึ่งลูกค้าจากห้างสรรพสินค้าฯ,โมเดลไม่พึ่งใครหาลูกค้าเอง,โมเดลซื้อ สูตรสำเร็จแฟรนไซส์) สิ่งสำคัญที่สุดของธุรกิจบริการร้านอาหารขั้นแรก ต้องสร้างลูกค้าใหม่มากพอก่อนหรือให้แน่นร้านในช่วงPEAK(3วัน/สัปดาห์) ขั้นต่อมา ต้องเพิ่มระบบคัดกรองลูกค้าประจำที่มารับประทานได้เดือนละครั้งออกมาให้ได้( ขั้นตํ่า500-1,000คนต่อร้านหรือ10คนต่อตรม.) ขั้นที่สาม คือการสร้างกลุ่มแฟนพันธุ์หแท้ หรือสมาชิกประจำที่มาทานได้มากกว่าเดือนละครั้งเพื่อสร้างรายได้ประจำอย่าง น้อยร้อยละ50 ของร้าน ขั้นสุดท้ายต้องบริหารต้นทุนอาหาร บริหารขีดความสามรถทีมงาน ค่าเช่า ค่าการตลาด ค่าโสหุ้ยต่างๆ ให้สอดคล้องรายได้ต่อหัวของลูกค้า และรายได้ประจำร้านประจำก่อน โดยรายได้ส่วนที่เพิ่มขึ้นใหม่ของร้านจะมาจากลูกค้าใหม่ การจัดรายการส่งเสริมการขาย ดึงคนเข้าร้าน ซึ่งมีต้นทุนแค่ค่าอาหารเป็นหลัก (ต้นทุนอื่นๆลูกค้าประจำช่วยให้คุ้มทุนค่าใช้จ่ายประจำเดือนไปแล้วครับใน ขั้นที่สาม ซึ่งใช้เวลา1-2ปี อยู่ที่เราว่าจะกล้าลงทุนกับลูกค้าเพื่อหวังผลระยะยาวไหม )  ถ้าท่านบริหารรายได้ประจำร้านถึงจุดนี้ได้หรือเริ่มมีกำไรเหลือในแต่ละเดือน การคืนทุนธุรกิจบริการร้านอาหารจะสั้นไม่เกิน 1-2 ปี ครับ
ครั้งหน้าเป็นตอนสุดท้ายแล้ว เรามาดูการสร้างกลยุทธ์ธุรกิจบริการด้วยเครื่องมือใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพใน การสร้างประสบการณ์ให้เชื่อมเป็นหนึ่งเดียวกันในทุกช่องทางสื่อสาร(Online, Offline, On Location ) ครับ
ส่วนท่านที่อยากได้อาวุธครบเครื่องในการสร้างธุรกิจบริการ เทคนิคการสร้างทีมงานบริการระดับ4-5ดาว การบริหารลูกค้าประจำ เพื่อสร้างรายได้ให้มีกำไรคืนทุนเร็ว จนต่อยอดเป็นการขยายสาขาแบบมาตรฐานหรือการทำต้นแบบธุรกิจบริการเพื่อขายสูตร สำเร็จธุรกิจ ต้องขอเชิญเข้าสัมมนาแบบเข้นข้น1วัน ที่ทางบ.มาร์เก็ตติ้งกูรูฯ จะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 18มี.ค.59 นี้ครับ จัดกันแบบเข้มข้นทุกปีๆละครั้งครับ   

 
โมเดลธุรกิจบริการร้านอาหารสมัยใหม่เน้นสร้างลูกค้าของตัวเอง สร้างช่องทางสื่อสารใหม่ๆถึงลูกค้าโดยตรง (Access)
ดั้งนั้นการบริหารจัดการธุรกิจร้านอาหารสมัยใหม่ เน้นคืนทุนเร็วภายใน3ปี ต้องมีการวางแผนธุรกิจบริการล่วงหน้าเพื่อสร้างการรับรู้ สร้างความรู้จักร้าน ตั้งแต่ที่มาของสูตรอาหาร,วัตถุดิบ,ที่มาของพ่อครัวปรุงอาหาร ,ทีมบริหารงาน,บรรยากาศร้านที่แตกต่างฯลฯทั้งช่องทาง สื่อสารแบบทันควันOnline (ผ่านSocial Media :FB, IG, Line ,Website ฯลฯ)ช่องทางสื่อสารดั้งเดิมOffline (ใบปลิว,นิตยสาร,สื่อวิทยุ,สื่อทีวี,ป้ายโฆษณาฯลฯ)และช่องทางสื่อสารท้อง ถิ่นOn Location (ผ่านป้ายบอกทางไปร้านอาหาร,การจัดกิจกรรมของร้านสร้างสีสรร,การสร้างLand Markของร้าน,มุมถ่ายรูปที่โชว์เพื่อนๆได้ฯลฯยิ่งสร้างความอยากรู้อยากเห็น สร้างความอยากมาที่ร้านได้มากๆจากทุกช่องทางสื่อสารยุคใหม่ข้างต้น ก็จะยิ่งดึงดูดลูกค้ามาให้ร้านต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ส่วนทีมงานบริการร้านอาหาร ทำหน้าที่สร้างความประทับใจให้ลูกค้าสัมผัสได้ในระหว่างรับประทานอาหาร ร้านก็จะได้ใจลูกค้าไปเต็มๆ  
ตัวอย่างธุรกิจร้านอาหารสมัยใหม่ที่ไม่พึ่งลูกค้าห้างสรรพสินค้าฯมีครบทั้งแบรนด์มาตรฐานบริการห้าดาว
และคุณภาพอาหารที่โดดเด่น มีลูกค้าประจำ มีขนาดที่นั่ง500 ขึ้นไป หรือมีจุดขายครบเครื่องเหมือนศูนย์การค้า อาทิ

  • ร้าน Chocolate Ville  เลียบด่วนเกษตร-นวมินทร์ (200โต๊ะ 3,000ที่นั่ง 16ไร่ ,มีบริการรับจองทางออนไลน์FB 30%
  • อีก70%เป็นลูกค้าWalk In)
  • ร้านโชคชัยสเต๊กเฮาส์ ปากช่อง เขาใหญ่(600ที่นั่ง 40ปี เน้นคุณภาพเนื้อสเต๊กเกรดสูง)
  • ร้าน Ribs Mannn เขาใหญ่ (600ที่นั่ง 8 ไร่ เก่งอาหารรมควันและการสร้างบรรยากาศมีการแสดงดนตรีสด บริการระดับ5ดาว)
  • ร้านChocolate Factory เขาใหญ่ ( สร้างความเป็นผู้เชี่ยวชาญการทำอาหาร-ของกินเล่นจากซ๊อคโกเล๊ต
มีการโชว์ขั้นตอนทำขนมซ๊อคโกเล๊ตจนลูกค้าที่เข้าร้านต้องซื้อกลับบ้านเกือบทุกคน
      โมเดลธุรกิจบริการร้านอาหารคู่ชิงเจ้าตลาด ใช้ลูกค้าของห้างสรรพสินค้าฯ สร้างระบบสมาชิกแบบทรงคุณค่า (Selective)
ส่วนธุรกิจร้านอาหารสมัยใหม่ที่เลือกทำเงินในห้าง สรรพสินค้าฯจะมีค่าเช่าสูง(2,500-3,500บาทต่อตรม.หรือ250,000-350,000บาท สำหรับพื้นที่100ตรม.ถ้ายอดขายเดือนนละ2ล้านบาทก็มีต้นทุนค่าเช่าเดือน ละ15-20%ไม่รวมค่าตกแต่งร้านครับ) ดังนั้นร้านต้องควบคุมต้นทุนอาหารเพื่อให้มาตรฐานเพื่อให้ลูกค้าจ่ายเฉลี่ย ต่อหัวไม่เกิน300-500บาทหรือจ่ายราคาในระดับ3-4ดาว แต่ได้บริการระดับ 4ดาว   ธุรกิจร้านอาหารยุคใหม่ที่ทำเงินในห้างฯที่สร้างสัมผัสประสบการณ์บริการได้ แตกต่างในความคิดของผู้เขียน ได้แก่
  • ร้านซิสเลอร์ (  46 สาขา จุดเด่นเป็นบุปเฟ่สลัดบาร์สุขภาพและบริการระดับ 4 ดาว)
  • ร้านบาบีคิวพลาซ่า (102 สาขา เด่นด้วยบริการระดับ4ดาวในราคาแค่ 3 ดาว)  
  • ร้านซานตาเฟ่สเต็ก ( 45 สาขา บริการมาตรฐานระดับ4ดาว  ในราคเเค่ 3ดาว)
  • ร้านอาหารญี่ปุ่นสึโบฮาจิ(7สาขาใน 1ปี เด่นด้วยเมนูปูจากฮอกไกโดบริการระดับ5ดาว,การตลาดOnlineที่ตรงกลุ่ม,การคืน กำไรสมาชิกที่จุ   ใจมากๆ)

 




ตัวอย่าง Customer Experience Service 4.0



 





วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บริหารประสบการณ์ให้โดนใจลูกค้าในยุคดิจิตอล ตอนที่1

จะสร้างรายได้และกำไรจากธุรกิจบริการให้ยั่งยืนได้อย่างไร ?
            
   ก่อนอื่นผู้บริหารงานบริการต้องปรับทัศนคติของผู้ให้บริการ
ทุกคนทุกตำแหน่ง ที่ติดต่อลูกค้า (พนักงานด่านหน้าพบลูกค้าบ่อยๆ, พนักงานขาย, ฝ่ายสนับสนุน, ช่างบริการ, ผู้บริหารทุกระดับ) ให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ว่าการให้บริการที่ดีคือการสร้างความสุขให้ลูกค้าตลอด ชีพ เพราะทุกจุดสัมผัสบริการที่ลูกค้าพบขณะรับบริการ (Touch Point) คือจุดชี้เป็นชี้ตายที่สร้างประสบการณ์ความแตกต่างใหม่ๆหรือเป็นจุดที่สร้าง อึดอัดไม่สบายใจให้กับลูกค้ามากยิ่งขึ้นจนลูกค้าค่อยๆหายไปทุกวัน

  ดังนั้นใครที่คิดว่ามีผลิตภัณฑ์ที่เป็นของดีมีคุณภาพและราคาเหมาะสมแล้วมี ของเหมือนคู่แข่งแล้ว ไม่ต้องสนใจการให้บริการอีกแล้ว ต้องกลับมาทบทวนกลยุทธ์บริการกันใหม่ว่า…วันนี้ท่านให้ประสบการณ์บริการ ใหม่ๆที่แตกต่างกับคู่แข่งได้ไหม? พนักงานทุกคนพร้อมให้บริการแค่ไหน? วันนี้ถ้าสินค้ามีคุณภาพไม่แตกต่างกันเราจะมีบริการอะไรที่แตกต่างจาก

คู่ แข่งอื่นๆ ?   

   ส่วน การสร้างบรรยากาศขณะ อยู่ในร้าน พนักงานทุกคนจะถูกฝึกอบรมและปลูกฝังวิธีการต้อนรับลูกค้าอย่างอบอุ่นเป็นกัน เอง  เพื่อสร้างบรรยากาศให้เป็นเสมือนเป็นบ้านและที่ทำงานแห่งที่สอง  มีบริการWi-Fi พร้อมปลั๊กไฟให้เสียบอุการณ์คอมพิวเตอร์ทุกโต๊ะ ลูกค้าจะใช้นานเท่าไหร่ก็ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกให้กวนใจ เพราะรวมเบ็ดเสร็จในค่ากาแฟไปหมดแล้ว นอกจากนี้พนักงานในร้านยังมีจิตวิทยาเชิญชวนสนับสนุนให้ลูกค้าอยู่ในร้าน นานๆด้วยการหากิจกรรมใหม่ๆอาทิ การเสริฟ์เบเกอรี่รสชาดใหม่ๆหรือเสริฟ์กาแฟคั่วรดชาดใหม่ๆฟรี  เมื่อลูกค้ามารับทานประจำจนมียอดคะแนนสะสมพอควรหรือมียอดสะสมคะแนนจากการข้อ แนะนำดีๆการให้บริการโดยรวมและการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆลูกค้าจะได้ทานกาแฟฟรี หรือได้ของขวัญพิเศษประจำปี ประจำวันเกิดแบบไม่มีเงื่อนไขฯลฯ 

   การบริหารประสบการณ์ที่ใส่ใจลูกค้าตลอด เวลาแบบทันควันหรือแบบ Real Time Service ของร้านสตาร์บัคทั่วโลก(และในประเทศไทยด้วย) จนสามารถสร้างความรู้สึกเป็นคนสำคัญของร้านอยู่เสมอ ทำให้ลูกค้าของร้านสตาร์บัคส่วนใหญ่ไม่รู้สึกว่าราคากาแฟของสตาร์บัค แพงเลยเมื่อแลกกับประสบการณ์ที่ได้รับพิเศษแตกต่างจากร้านกาแฟอื่นๆ  

   ในขณะที่ร้านกาแฟสดมีแบรนด์ ( อเมซอน,อินทนินท์ ,ดิโอโร่ ฯลฯ ) ลูกค้าจะยอมจ่ายค่ากาแฟสดแก้วละจะไม่เกิน 50- 65 บาทเท่านั้น เพราะไม่มีบริการแบบทันทีทันควันที่แตกต่าง บริการส่วนใหญ่มักจะเหมือนๆกันหมด ( การต้อนรับ,การบริหารการรอคอย,บรรยากาศในร้าน ฯลฯ) แล้วอย่างนี้ใครที่คิดจะเปิดร้านกาแฟสดหรูๆ(ราคาต่อแก้ว 75- 95 บาท)แค่คิดว่าลงทุนตกแต่งสถานที่ให้สวยงามบรรยากาศดีๆ ตั้งราคากาแฟให้ถูกกว่าสตาร์บัคน่าจะขายได้ง่ายๆคงต้องลองกลับมาทบทวนกลยุทธ์การบริการแบบทันควันให้ชัดเจนก่อนนะครับ 

   อันดับแรกท่านตอบคำถามได้ว่าลูกค้ามารับประทานกาแฟหรือเครื่องดื่มเบเกอรี่ ของร้านท่านเพราะมีอะไรดีบ้าง ? บริการอะไรที่จะสร้างความประทับใจให้ลูกค้าใหม่ (New Customer) จนอยากมาทานซํ็าๆอีก ? นอกจากแต่งร้านกาแฟได้สวยบรรยากาศน่าเข้า ใช้กาแฟพันธุ์ดี มีเครื่องชงกาแฟได้มาตรฐาน หรือจากพนักงานและทีมที่มีลูกเล่นมีหัวใจบริการที่จะทำให้ลูกค้ากลับมาทาน กาแฟซํ๊าๆได้ ถ้าบริการเรามีดีบ้างในสายตาลูกค้า ส่วนใหญ่จะจูงใจให้ลูกค้ามา ซํ๊าๆอย่างน้อย 3 ครั้ง แสดงงว่าบริการโดยรวมๆของท่านเริ่มใช้ได้แล้วราคากาแฟของท่านไม่เป็นอุปสรรคต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าแล้ว
  


   ขั้นต้นต่อไปต้องหาบริการใหม่ๆต่อยอดให้ลูกค้ารู้สึกเป็นคนสำคัญเพื่มขึ้นจน เลื่อระดับมาเป็นลูกค้าประจำ (Loyalty Customer จำนวน20%จะทำรายได้ตั้งแต่20-40%ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจใหม่ๆ)  เพื่อปิดโอกาสลูกค้าใหม่ของเราไม่ให้เปลี่ยนใจหรือหลุดไปหาคู่แข่งได้ง่ายๆ  เราจะมีบริการอะไรที่ผูกมัดใจลูกค้าเพิ่มขึ้นตามยอดใช้/ตามยอดซื้อ/ตามความ ถี่/ตามกิจกรรม  (ซึ่งร้านกาแฟสตาร์บัคจะใช้กิจกรรมการสะสมยอดซื้อ และการสะสมยอดการเข้าร่วมกิจกรรมแบบทันควันเป็นหลักในการสร้างความผูกพันใน ขั้นตอนนี้)

   ขั้นสุดท้ายต้องสร้างลูกค้าประจำนี้ให้เป็นแฟนพันธุ์ แท้(พฤติกรรมลูกค้ากลุ่มนี้จะมาใช้บริการถี่ๆและมียอดซื้อสูง มาใช้บริการซํ๊าๆตั้งแต่5ครั้งต่อเนื่อง)หรือการสร้างพฤติกรรมให้มาใช้ บริการแบบคนคุ้นเคย แบบเพื่อนฝูง แบบหุ้นส่วนร้าน ให้เร็วที่สุดครับเพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับธุรกิจบริการของเรา (ปกติลูกค้าประจำที่กลายเป็นแฟนพันธุ์แท้ มีจำนวนแค่5-10%แต่จะทำรายได้ให้ธุรกิจมากกว่า50%)  แนวทางผูกใจลูกค้าแฟนพันธุ์แท้ เพื่อจูงใจนึกถึงเราก่อนคู่แข่ง แค่ทำสมาชิกได้ส่วนลด (Discount)แก้วละ5-10บาทใครๆหรือให้ส่วนลด5-10% ใครๆก็ทำกัน ต้องดูว่าส่วนลดแค่ไหนจะจูงใจให้ลูกค้าแฟนพันธุ์แท้อยู่กับเราโดยเราไม่ขาด ทุน(ลูกค้าเพียง5-10%แต่ทำรายได้ถึง50%) หรือการทำสะสมยอดซื้อ5-10แก้วแล้วกินฟรี1แก้วก็เห็นผลเร็ว หรือจัดเป็นของแถมพิเศษตามเทศกาลแจกฟรีเป็นรอบๆก็จูงใจดีไม่เหมือนใคร หรือจัดโปรกระตุ้นซื้อในช่วงลูกค้าใช้บริการน้อยๆของวัน (Happy Hour) ก็ดึงดูดใจลูกค้าได้ดีเช่นกันครับ

    เมื่อแยกกลุ่มลูกค้าชั้นดี ลูกค้าแฟนพันธุ์แท้ได้ชัดเจนแล้ว ท่านต้องรีบชิงลงมือสร้างความผูกพันธุ์หรือคืนกำไรให้ลูกค้า อย่ารอช้าครับ เพราะช่วงเวลาที่ลูกค้าประทับใจเราหรือช่วงฮันนี่มูนจะอยู่ไม่นานครับ ถ้าเราไม่มีประสบการณ์ใหม่ที่ดึงดูดใจ ไม่เมนูกาแฟใหม่ ๆหรือไม่มีบริการใหม่ๆหรือพนักงานของเราเริ่มไม่สนใจลูกค้าเหมือนเดิมเนื่อง จากลูกค้ามากขึ้นๆจน คิดว่าลูกค้ประจำาเป็นของตายที่ต้องอยู่กับเราหรือต้องภักดีกับเราแน่ๆ  ลืมไปว่าในโลกการแข่งขันยุคดิจิตอล มีคู่แข่งหน้าใหม่ๆเกิดขึ้นทุกวัน มีทุนมีเทคโนโลยีที่พร้อมสร้างบริการใหม่ๆแบบทันควัน มีมาตรฐานบริการที่สูงขึ้นเรื่อยๆ  
    ดังนั้นเมื่อไหร่ที่เราดูแลลูกค้าไม่ดีเอง หรือไม่สนใจความรู้สึกลูกค้าประจำ ไม่มีระบบรายงานข้อร้องเรียนบริการของเรา จนลูกค้ารู้สึกได้ว่าไม่เป็นคนสำคัญอีกต่อไป แถมยังไม่มีรางวัลมาตอบแทนความภักดีของลูกค้าอีก  ลูกค้าเก่าชั้นดีจึงมักจะหนีไปหาคู่แข่งเรื่อยๆครับ สุดท้ายเราต้องออกแรงหาลูกค้าใหม่อีกเรื่อยๆ อย่างนี้เหนื่อยแน่ๆครับถ้างานบริการของเราเข้าวงจรขาลงอย่างนี้

    ท่าน ที่อยากเปิดร้านกาแฟสดธุรกิจในฝันคงต้องกลับมา

ทบทวนกลยุทธ์บริการแบบ ทันควันทันใจให้ต่อเนื่องครบวงจร คิดแค่บริการระยะสั้นๆหรือแค่ขายให้ได้ก่อน ไม่สร้างลูกค้าประจำ ไม่ต่อยอดประสบการณ์ลูกค้าแฟนพันธุ์แท้ สร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจบริการ   รับรองธุรกิจบริการของท่านทำแล้วสูญเปล่าเยอะครับ
แล้ว พบกันใหม่ในตอนที่2 เรื่องกลยุทธุ์ธุรกิจบริการในยุคดิจิตอลครับ (Customer Service Experience 4.0) เพื่อสร้งกำไรให้ธุรกิจอย่างมั่นใจ  ครับ  นอกจากนี้ทางMGAจะมีการจัดสัมนานี้ขึ้นในวันที่18 มี.ค. 59นี้ครับตามรายละเอียด นี้ครับ
บริหารข้อร้องเรียนดีมีชัยไปกว่าครึ่ง


   บริการ ที่แตกต่างต้องสามารถสร้างสรร สร้างประสบการณ์แปลกใหม่ให้ลูกค้าได้จริง ลูกค้าจับต้องได้ต้องมีระบบรายงานข้อร้องเรียนที่ลูกค้าไม่พอใจบริการของเรา ได้ตลอดเวลา (Voice of Customer & Complaints ) ซึ่งข้อร้องเรียนบริการจากลูกค้าจะมาจาก 3สาเหตุใหญ่ ๆ

  อันดับแรกเป็นข้อร้องเรียนเกิดขึ้นเป็นประจำร้อยละ25เกิดจากความไม่พอใจ ผลิตภัณฑ์เนื่องจากความไม่เข้าใจของลูกค้าในการใช้งานและไม่เข้าใจเงื่อนไข การรับประกันคุณภาพสินค้าจากคู่มือที่ให้ไว้(เนื่องจากลูกค้าไม่มีเวลาอ่าน ให้เข้าใจวิธีใช้งานที่ถูกต้อง,ไม่มีคู่มือการใช้งานที่เหมาะสม,ลูกค้าไม่ เข้าใจการสื่อสารการใช้งานผลิตภัณฑ์ของเราฯลฯ)

  อันดับข้อร้องเรียนที่พบ มากรองลงมาร้อยละ50 เกิดขึ้นจากความคาดหวังล่วงหน้าของลูกค้าที่ต้องการได้รับการบริการที่ดูแลเอาใจใส่จากพนักงานเมื่อติดต่อเข้ามาหรือเมื่อพบหน้ากัน 

  สุดท้ายข้อร้องเรียนอีกร้อยละ25 เกิดขึ้นจากตัวพนักงานบริการที่มีทัศนคติที่เป็นเชิงลบต่องานบริการหรือไม่ มี Service Mind ในขณะให้บริการ(สนใจแต่ตัวเองไม่สนใจลูกค้าที่รอคอย,ไม่สร้างความอบอุ่นใจ ให้ลูกค้า,ไม่ยิ้มไม่สบตาลูกค้า,ที่วางตัวเองไม่ถูกต้องในการให้บหรือคิดไป เองว่าบริการดีอยู่แล้วมีมาตรฐานสูงแล้วฯลฯ) 

  ดังนั้นจะเห็นว่าแค่เราบริหารข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นในส่วนพนักงานบริการ ให้มีความเข้าอกเข้าใจลูกค้าที่มาใช้บริการของเรามากขึ้น คอยช่วยเหลืออำนวยความสะดวกให้ลูกค้ามากขึ้น ลูกค้าก็ประทับใจแล้ว  ปัจจุบันธุรกิจบริการขนาดใหญ่จึงมีแบบประเมินความพอใจบริการให้ลูกค้า ประเมินผลทันที่หลังรับบริการ หรือหลังใช้บริการจบแล้วหรือเมื่อจบกิจกรรมแล้ว เพื่อใช้เก็บคะแนนการให้บริการโดยรวม 

  ปัจจุบันธุรกิจบริการจึงนิยมเพิ่มการประเมินความพอใจลูกค้าแบบทันควัน (Real Time Service) ไม่รอคอยหลายๆวันแล้วประเมินกัน เพื่อยกระดับบริการลูกค้าแบบตัวต่อตัวให้เห็นผลทันที่ทันใจเช่นกัน พบว่าการประเมินความพอใจแบบทันควันนี้ช่วยกระตุ้นให้พนักงานจะมีจิตสำนึกใน การให้บริการดูแลลูกค้าด้วยความใส่ใจมากขึ้นอย่างชัดเจนครับ 

  ลองไปปรับใช้กันเพื่อลดข้อร้องเรียนให้เหลือน้อยๆส่วนใหญ่มาตรฐานถ้าลดข้อ ร้องเรียนให้เหลือน้อยกว่าร้อยละ2 ได้รับรองบริการของเราจะได้ใจจากลูกค้าเพิ่มขึ้น ลูกค้าจะรักเรามากคู่แข่งแน่นอนครับ ยิ่งระดับความพอใจของลูกค้าสูงระดับความผูกพันที่ลูกค้ามีต่อธุรกิจในปัจจุบันก็จะเพิ่มตามไปด้วยครับ



ระดับ 1 : แย่มากๆ           ความภักดี น้อยกว่า 10% 
<---- จุดวิกฤติที่ต้องแก้ไขด่วนที่สุด รอช้าไม่ได้
ระดับ 2 : พอรับได้              ความภักดี 20%           
<---- จุดวิกฤติที่ต้องแก้ไขด่วนในลำดับถัดมา
ระดับ 3 : พอใจ                   ความภักดี 40%     
<---- จุดวิกฤติที่ต้องแก้ไขด่วนเช่นกัน
ระดับ 4 : พอใจมาก            ความภักดี  80%        
<-----สร้างให้ลูกค้ามีแนวโน้มการใช้บริการซํ้าหรือซื้อเพิ่ม
ระดับ 5 : ประทับใจ           ความภักดี 100%         
<---- สร้างลูกค้าแฟนพันธุ์ตลอดชีพ  


          
บริหารประสบการณ์ทันควันทันใจแบบสตาร์บัคกันดีกว่า!!!!

   ธุรกิจ บริการกาแฟสดสตาร์บัค (Starbuck) ปัจจุบันมีสาขาทั่วโลกกว่า 20,000 สาขาและในประเทศไทยกว่า200สาขา ระบบบริการแบบReal Timeของสตาร์บัคสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ
ในการรับประทานกาแฟสดให้ลูกค้าทั่วโลก แตกต่างจากคู่แข่งเครือข่ายธุรกิจกาแฟสดอื่นที่เน้นแต่ราคา หรือเน้นบรรยากาศ แต่ที่ร้านสตาร์บัคมีให้ครบเหมือนเป็นบ้านหรือที่ทำงานที่สอง ด้วยกลยุทธ์สร้างประสบการณ์ใหม่ๆตั้งแต่การต้อนรับที่อบอุ่น เมื่อพบหน้าลูกค้า ความกระตือรือร้นใส่ใจลูกค้าจากพนักงานทุกคนของร้าน การช่วยเหลือแนะนำให้ลูกค้าประหยัดเวลาสั่งกาแฟโดยนำเสนอกาแฟสดให้ลูกค้า เลือก2-3แบบตามบุคลิกของลูกค้า(กาแฟรสเข้ม ESPRESSO, กาแฟรสปานกลางCAPU, กาแฟรสอ่อนLATE,กาแฟสดรสชาดใหม่ล่าสุด ฯลฯ) 



ตัวอย่าง Customer Experience Service 4.0